แปลและเรียบเรียง: นงลักษณ์ อัจนปัญญา
ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียในสหรัฐฯ พบการลงทุนเพื่อการศึกษาอย่างจริงจังจากภาครัฐ ทั้งในด้านระบบการศึกษาโดยตรง และในเชิงสถานะทางเศรษฐกิจสังคม มีความสำคัญจำเป็นอย่างมากที่ส่งผลให้การศึกษามีคุณภาพและเสมอภาคเท่าเทียม
รายงานการวิจัยซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติว่าด้วยสังคมวิทยาเพื่อการศึกษา ระบุว่า การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงกายภายใต้การนำของคณะครุศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย โดยเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สามารถยืนยันให้เห็นความสำคัญของระบบการศึกษาแห่งชาติที่มีส่วนช่วยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา หลายฝ่ายต่างเชื่อว่า การศึกษาถือเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วยลบเลือนช่องว่างแห่งโอกาสระหว่างภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ทว่า ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกลับพบว่า การศึกษาไม่สามารถยกระดับและทำให้ช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นลบหายไปได้
ดังนั้น เพือให้การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่มีอยู่เกิดขึ้นได้จริง Katerina Bodovski รองศาสตราจารย์ด้านทฤษฎีและนโยบายการศึกษา กล่าวว่า หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรเข้าใจปัจจัยทางสังคมในวงกว้างของบุคคลคนหนึ่งเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากปัจจับเหล่านั้นที่มีผลต่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ระบบการศึกษาไม่มีอยู่ในสภาวะว่างเปล่า มันมีอยู่ภายในบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นแทนที่จะมองหามนต์วิเศษในการแก้ไขปัญหา เราจำเป็นต้องมองให้ลึกลงไปให้ดีว่ามีอะไรเกิดบ้างในสังคมหนึ่งๆ – Bodovski กล่าว
สำหรับผลการศึกษาในครั้งนี้ Bodovski กล่าวว่า ความเเหลื่อมล้ำทางรายได้ในสหรัฐฯ คือตัวการใหญ่ที่ขัดขวางไม่ให้การพัฒนาการศึกษาบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้ และการใช้จ่ายเงินงบประมาณทางการศึกษาของภาครัฐในปริมาณมหาศาลมีส่วนสำคัญในการช่วยบรรเทาอุปสรรคทางการศึกษาของเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งรวมถึงการช่วยเด็กเหล่านั้นในการพัฒนาการเรียนรู้วิชาที่ยากและซับซ้อนอย่างคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อีกทางหนึ่งด้วย
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรทำให้ครูในโรงเรียนยากจนถูกบีบให้ต้องเข้ามาจัดการกับปัญหาแวดล้อมอื่นๆ แทนที่จะสามารถนำเวลาเหล่านั้นไปยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เด็กนักเรียน โดยตัวอย่างของปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียน แต่ครูก็ยังจำเป็นต้องเข้าไปจัดการให้ความช่วยเหลือ ก็เช่น การขาดแดลนอาหาร การขาดระบบสุขอนามัยที่ดี และปัญหาภาวะผิดปกติทางจิตใจ
ขณะเดียวกัน งานวิจัยยังยืนยันได้ว่า สถานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันยังมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นอีกหลายปีนับจากนี้ เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19
Bodovski อธิบายว่า การระบาดของโควิด-19 ทำให้ “ที่อยู่อาศัย” ต้องกลายเป็นห้องเรียนฉุกเฉิน แต่สำหรับเด็กยากจน หรือเด็กจากครอบครัวผู้มีรายได้น้อย นอกจากจะไม่มีที่อยู่อาศัยทีมีขนาดเพียงพอต่อการเรียนแล้ว เด็กนักเรียนยากจนเหล่านี้ยังต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์เทคโนโลยี และการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต
“งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการลงทุนด้านการศึกษาของภาครัฐ และการผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างภายในหน่วยงานด้านศึกษาของภาครัฐให้มีความคล่องตัวจึงเป็นสิ่งจำเป็น” รองศาสตราจารย์ Bodovski กล่าว
ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ Bodovski และทีมงานได้เริ่มต้นศึกษาค้นคว้าการวิจัยเชิงเปรียบเทียบภายใต้ทุนสนับสนุนของมูลนิธิ National Science Foundation เพื่อมองหาปัจจัยสำคัญของระบบการศึกษาแห่งชาติที่จะช่วยลบช่องว่างความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์์ โดยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพ้นธ์กับสถานะทางเศรษกิจสังคม เพศ และสถานะผู้ลี้ภัย
โดยหนึ่งในคำถามของการวิจัยครั้งนี้คือ “ระบบการศึกษามีส่วนช่วยลดช่องว่างความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคม เพศ และสภานะผู้ลี้ภัยหรือไม่”
ผลการศึกษาพบว่า ครอบครัวที่มีสถานะเศรษฐกิจสังคมดีมีผลต่อโอกาสในการบรรลุความสำเร็จอย่างมาก ตรงข้ามกับเหล่าเด็กนักเรียนในกลุ่มผู้อพยพที่สถานะการเรียนรู้ค่อนข้างล้าหลังเพื่อน และยิ่งมีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมที่ต่างกันเท่าไร ก็ยิ่งทำให้โอกาสในความสำเร็จต่างกันเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การทุ่มงบประมาณลงทุนของภาครรัฐเพื่อจัดการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคมมีผลอย่างมากต่อการเพิ่มโอกาสความสำเร็จทางการศึกษาของเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาสในสหรัฐฯ
ทั้งนี้ แม้ว่า สหรัฐฯ จะไม่มีระบบติดตามที่ชัดเจน ทั้งยังดูเหมือนจะช่วงว่างความแตกต่างไม่มาก กระนั้น Bodovski กลับย้ำชัดว่า เด็กนักเรียนจากพื้นที่ยากจน ทั้งในเมืองและนอกเมือง ไม่อาจเข้าถึงโครงการช่วยเหลือทางการศึกษาของภาครัฐได้ทุกคน ดังนั้น แทนที่จะเดินหน้าจัดสรรโครงการชั้นเรียนพิเศษเพือช่วยให้เด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาสสามารถเรียนตามทันเพื่อน รัฐบาลไม่ควรที่จะละเลยลงทุนในโครงการที่จะช่วยยกระดบคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงการปรับปรุงนโยบายทางการศึกษาให้ตอบสนองต่อความจำเป็นพิเศษของเด็กด้อยโอกาสในสังคม
“เราจำเป็นต้องพึ่งพาการลงทุนขนานใหญ่จากภาครัฐ ภายใต้การกำหนดนโยบายที่คำนึ่งถึงความเหมาะสมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม” รองศาสตราจารย์ Bodovski กล่าว
ที่มา: Study demonstrates importance of government investment in education