นักวิจัยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเผยผลการศึกษาระบุชัด การปิดโรงเรียนเพื่อสกัดกั้นควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านทักษะอ่านของเด็กนักเรียนในระดับประถมศึกษา โดยทำให้การอ่านออกเสียงสะกดคำอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นแม้แต่น้อย
รายงานระบุว่า ทีมนักวิจัยของ Stanford Graduate School of Education (GSE) ได้แสดงหลักฐานชิ้นใหม่ที่พิสูจน์ว่าการปิดโรงเรียน เพราะไวรัสโควิด-19 มีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านทักษะการอ่าน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนรู้ต่อยอดในระดับที่สูงขึ้นไป และเกี่ยวข้องกับทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการทดสอบทักษะการอ่านของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ในโรงเรียนกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ ก่อนพบว่า นักเรียนเหล่านี้ โดยเฉพาะในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 มีทักษะการอ่านที่ถดถอยลงจากเกณฑ์ปกติที่ควรเป็นถึง 30%
โดยทีมนักวิจัย ดำเนินการศึกษาเป็นช่วงๆ หลายครั้งตลอดทั้งปี 2020 เพื่อนำผลมาเปรียบเทียบกัน โดยมีทั้งช่วงที่ปิดโรงเรียน และช่วงที่เปิดโรงเรียนกลับมาเรียนหนังสือได้ตามปกติ
สำหรับการประเมินทักษะการอ่านนี้ คือการทดสอบพัฒนาการด้านการอ่านด้วยการอ่านออกเสียง แล้วพิจารณาถึงความคล่องแคล่วในการอ่าน และการอ่านออกเสียงได้เร็วและถูกต้อง ซึ่งผลการอ่านของนักเรียนส่วนใหญ่ลดลงไปในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงปิดโรงเรียนเพราะโควิด-19 และทักษะการอ่านกลับมากระเตื้องดีขึ้นอีกครั้งในช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่มีการเปิดโรงเรียน เป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะชดเชยการเรียนรู้ที่หายไปในช่วงฤดูใบไม้ผลิก่อนหน้านี้ได้
Ben Domingue ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่ง Stanford GSE และหนึ่งในผู้เขียนรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า ผลการศึกษาทำให้เห็นว่าเด็กนักเรียนเหล่านี้ดูเหมือนกชจะไม่ได้มีการพัฒนาทักษะการอ่านในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และการเติบโตหยุดชะงักเมื่อโรงเรียนปิด
“(ทักษะการอ่าน) กระเตื้องขึ้นในฤดูใบไม้ร่วง พิสูจน์ให้เห็นถึงผลของความพยายามของเหล่านักการศึกษาที่เตรียมความพร้อมและความคิดสร้างสรรค์ในการหาวิธีสอน แต่การเติบโตนั้นไม่แข็งแกร่งพอที่จะชดเชยช่องว่างจากฤดูใบไม้ผลิ”
ทั้งนี้ นักวิจัยระบุชัดเจนว่า ความคล่องแคล่วในการอ่านเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาทางวิชาการในวงกว้างมากขึ้น ดังนั้น ปัญหาเกี่ยวกับทักษะการอ่านนี้จึงอาจรบกวนความสามารถของนักเรียนในการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ ในขณะที่พวกเขาก้าวผ่านเกรดในภายหลัง
“การอ่านเป็นประตูสู่การพัฒนาทักษะทางวิชาการในทุกสาขาวิชา มันเป็นกุญแจที่เปิดประตูทุกบาน หากเด็กไม่สามารถอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พวกเขาก็ไม่น่าจะเข้าถึงเนื้อหาในหลักสูตรอื่นๆ ได้” Domingue กล่าว
ทดสอบการอ่านเป็นช่วงระยะ ไม่ใช่รายปี
สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ แตกต่างจากงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสูญเสียการเรียนรู้เพราะโควิด-19 ก่อนหน้าตรงที่มีการวัดทักษะของนักเรียนเป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งปีทำให้สามารถประเมินการเติบโตในระยะต่างๆ ของการระบาดได้
โดยนักวิจัยกล่าวว่า การศึกษาเกี่ยวกับการสูญเสียการเรียนรู้จนถึงขณะนี้ส่วนใหญ่จะพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของผลลบที่เกิดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่านักเรียนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างไร ทว่า เพียงแค่การวัดผลสะสมไม่ได้ช่วยให้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างจุดเวลาทั้งสองนั้น มีการเปลี่ยนแปลงมากมายที่โรงเรียนในช่วงเวลาที่แตกต่างกันระหว่างสองจุดนั้น อีกทั้งยังดูเหมือนว่าจะมีความแตกต่างบางอย่างในรูปแบบการเรียนรู้
นอกจากนี้ การศึกษาในครั้งนี้ยังมีกลุ่มเป้าหมายที่มุ่งเน้นไปยังนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ขณะที่คนอื่นๆ จะศึกษาเรื่องการเติบโตและการสูยเสียการเรียนที่กระทบต่อนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มักอยู่ในเกณฑ์การสอบมาตรฐานประจำปีและการประเมินตามปกติอื่นๆ
การอ่านคือทักษะขั้นพื้นฐาน
ข้อมูลครั้งนี้ ได้จากการศึกษาด้วยการประเมินการอ่านแบบปากเปล่าเพื่อวัดความคล่องแคล่วในการอ่านของนักเรียนอเมริกันในเขตพื้นที่การศึกษามากกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งการประเมินการอ่านที่ใช้ในการศึกษาใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีและแม้ว่าจะดำเนินการตามปกติในห้องเรียน แต่ก็ดำเนินการจากระยะไกลในระหว่างการระบาด การอ่านนี้ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และแม้ว่าจะดำเนินการตามปกติในห้องเรียน แต่ก็ดำเนินการจากระยะไกลในระหว่างการระบาดของไวรัสโควิด-19
ผู้สอบจะบันทึกเสียงอ่านของตนขณะที่อ่านออกเสียง ขณะที่การให้คะแนนจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาโดยขึ้นอยู่กับการรวมกันของ 1) การถอดเสียงของมนุษย์ และ 2) การรู้จำเสียง
ทั้งนี้ นักวิจัยได้ตรวจสอบแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวของนักเรียนตั้งแต่ปี 2018 โดยสังเกตการเติบโตที่ค่อนข้างคงที่จนกระทั่งเริ่มมีการระบาดในฤดูใบไม้ผลิปี 2020 ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ทักษะความสามารถในการอ่านของเด็กหยุดลง
นักวิจัยยังสังเกตเห็นผลกระทบของความเหลื่อมล้ำ โดยนักเรียนในเขตที่ประสบความสำเร็จต่ำในอดีต (จากข้อมูลจากคลังข้อมูลการศึกษาของสแตนฟอร์ด) ได้พัฒนาทักษะการอ่านในอัตราที่ช้ากว่านักเรียนที่ประสบความสำเร็จสูงกว่า ส่วนโรงเรียนที่มักจะได้คะแนนต่ำจากการทดสอบมาตรฐานประจำปีก็มักจะมีสัดส่วนของนักเรียนดียน และนักเรียนด้อยโอกาส – ประชากรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ รวมถึงการเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์ -อินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้ หรือผู้ปกครองที่บ้าน
ทั้งนี้ มีเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่โรงเรียนที่มีผลการเรียนต่ำกว่าจะเผชิญกับปัญหามากมายที่นักการศึกษาในเขตที่ร่ำรวยกว่าไม่ได้เผชิญ กระนั้น โรงเรียนที่กลุ่มนี้ก็ยังมีการเติบโต เพราะครูทุ่มเทพยายามอย่างหนัก ในการช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ทักษะการอ่าน รวมถึงสะท้อนให้เห็นในสิ่งที่ได้รับ แต่สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงผลกระทบที่แตกต่างกันที่มีต่อนักเรียน
ก้าวต่อไป
นักวิจัยเตือนว่า แม้ว่าการศึกษาวิเคราะห์จะเป็นหลักฐานที่สำคัญเกี่ยวกับการสูญเสียการเรียนรู้ในช่วงชั้นต้น แต่ก็ไม่รวมถึงข้อมูลว่านักเรียนเข้าเรียนด้วยตนเองจากระยะไกลหรือในรูปแบบผสม
ทีมนักวิจัยยังระบุหมายเหตุไว้ด้วยว่า การค้นพบของพวกตนในครั้งนี้ ไม่ควรนำไปใช้กับวิชาการอื่น ๆ ที่เปิดสอน เพราะมุ่งเน้นไปที่การอ่านเป็นหลัก ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนการสอนของโรงเรียนหลายแห่งในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2020
แม้ว่า แม้ว่าผลกระทบทั้งหมดของโควิด-19 ต่อการเรียนรู้จะไม่ชัดเจนอีกนานหลายเดือนหรือหลายปี แต่การศึกษานี้แสดงหลักฐานว่า – หลังจากการระบาดครั้งแรก นักการศึกษาพบวิธีการสอนและประเมินทักษะการอ่านของนักเรียนรุ่นใหม่ และแม้ในท่ามกลางความไม่แน่นอนและการหยุดชะงักอย่างต่อเนื่อง นักเรียนเหล่านี้ก็สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์ในฤดูใบไม้ร่วง ช่วงก่อนการระบาด
นอกจากนี้ Heather Hough ผู้อำนวยการบริหารของ PACE และผู้ร่วมการศึกษาในครั้งนี้กล่าวว่า สามารถต่อยอดงานวิจัยนี้ โดยระบุแนวทางแนวทางปฏิบัติที่เร่งการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่เรียนไม่ทันและทำให้แน่ใจว่าโรงเรียนมีทรัพยากรที่จำเป็นพร้อมฃ
ที่มา : New Stanford study finds reading skills among young students stalled during the pandemic