คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งออนตาริโอ หรือ Ontario Human Rights Commission (OHRC) เปิดเผยผลการศึกษาแนวทางการเรียนรู้ด้านการอ่านออกเขียนได้ของแคนาดาในปัจจุบันยังจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เนื่องจากแนวทางที่ใช้อยู่นี้ ไม่ได้ครอบคลุมคำนึงถึง นักเรียนที่มีปัญหาความบกพร่องในการอ่าน โดยคณะกรรมการฯ คาดหวังว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะช่วยยกระดับทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนทั่วแคนาดา
ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งออนตาริโอกล่าวว่า แม้การเรียนรู้ทักษะการอ่านจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเป็น แต่จนถึงขณะนี้ กลับมีนักเรียนในออนตาริโอจำนวนมากที่ถูกปฎิเสธไม่ไห้เข้าถึงสิทธิดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องในการอ่าน
โดยนอกจากข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวทางการสอนด้านการอ่านแล้ว ทางคณะกรรมการยังได้ยืนข้อเรียกร้องอีก 157 ข้อเพื่อแนะนำแนวทางการสนับสนุน สิทธิในการอ่าน หรือ ‘Right to Read’
โดยในบรรดาข้อเสนอแนะต่างๆ นี้ยังหมายรวมถึง การคัดกรองความผิดปกติด้านการอ่านตั้งแต่เนิ่นๆ การเข้าแทรกแซงในการอ่านของผู้เชี่ยวชาญ และการประเมินทักษะการอ่านอย่างมืออาชีพ ตลอดจนเดินหน้าสนับสนุนให้สาธารณะมีความเข้าใจและรู้จักคำว่า “dyslexia” ซึ่่งเป็นโรคทางจิตใจของผู้ที่บกพร่องด้านความสามารถในการอ่านหนังสือ การสะกดคำหรือการเขียน และความบกพร่องด้านต่างๆ เหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ในคน ๆ เดียวกัน
ด้านกลุ่มผู้สนับสนุนกล่าวว่าข้อเสนอแนะทั้งหมดที่เขียนลงไปนั้น แท้จริงมีการเรียกร้องมานานแล้ว เพียงแต่ไม่มีการเขียนระบุเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน
ทั้งนี้ แต่เดิมทางคณะกรรมการ OHRC ได้ออกมาเรียกร้องให้มีการปฎิรูปแนวทางการสอนทักษะการอ่านอย่างเป็นทางการในช่วงปี 2019 หลังจากเกิดความกังวลเกี่ยวกับระบบการศึกษาที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของนักเรียนที่มีความบกพร่องในการอ่าน เช่น ผู้ที่มีปัญหาในการอ่านเพราะโรค dyslexiaได้
“บรรดาผู้ปกครองส่วนใหญ่ในออนตาริโอมักเลือกที่จะปิดปากเงียบ และได้รับการบอกย้ำซ้ำๆ ว่าโรค dyslexia ไม่มีอยู่จริง” Lark Barker ประธานกลุ่มผู้สนับสนุน Dyslexia Ontario กล่าว
ด้าน Michele van der Veen ซึ่งมีลูกวัย 11 ขวบที่มีปัญหาในการอ่านจากโรค dyslexia และ dysgraphia ( ภาวะเขียนอ่านไม่ออก หรือ ดิสกราเฟีย คือภาวะที่เขียนแล้วอ่านไม่ออกเพราะตัวอักษรที่เขียนไม่เป็นไปตามลักษณะที่สามารถอ่านได้) ซึ่ง Michele อธิบายว่า ลูกมีอักษรอยู่ในหัวแต่ไม่สามารถเอามันออกมาเขียนบนกระดาษได้ เหมือนกับว่าสมองกับการเขียนนั้นขาดการเชื่อมต่อถึงกัน
ขณะเดียวกัน ในฐานะครูที่สอนในพื้นที่Waterloo Region ทาง Michele ยังพบว่ามีเด็กหลายคนมีปัญหาในการอ่าน และมีระดับการอ่านที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของช่วงวัย
“เด็กๆ ไม่เข้าใจแนวคิดด้านการอ่านเลย ดังนั้นจึงพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่เราทำกันอยู่นั้นไม่ได้ผล” ครูMichele กล่าว
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ขณะนี้ ทั้งทางคณะกรรมการโรงเรียนคาทอลิกและโรงเรียนของรัฐในภูมิภาครับทราบว่ามีปัญหาและอุปสรรคที่เป็นระบบที่ต้องดำเนินการในขณะที่ดำเนินการตามข้อค้นพบของรายงาน
Scott Miller ผู้อำนวยการบอร์ดคณะกรรมการโรงเรียนเขตวอเตอร์ลู ( Waterloo Region District School Board) กล่าวว่า ทางบอร์ดคณะกรรมการ ได้เริ่มเปลี่ยนแนวปฏิบัติด้านการอ่านบางอย่างไปแล้ว โดยเฉพาะในชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ด้าน John Shewchuk หนึ่งในสมาชิกบอร์ดคณะกรรมการโรงเรียนเขตวอเตอร์ลู (WCDSB) กล่าวเสริมว่า ในปีที่ผ่านมาทางคณะกรรมการ ได้นำโปรแกรม Heggerty มาใช้เป็นเครื่องมือขั้นต้น (Tier 1) ในห้องเรียนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาความตระหนักด้านสัทศาสตร์และสัทศาสตร์ในห้องเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษาของโรงเรียน ช่วยให้พบความบกพร่องด้านการอ่านของเด็กแต่เนิ่น ๆ ซึ่งมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาด้านการอ่านของเด็กได้โดยเร็ว
ขณะที่ ทาง Decoding Dyslexia Ontario กล่าวว่า ปัญหาในการอ่านไม่ได้เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบการอ่านเท่านั้น แต่ความบกพร่องในการอ่านอาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อตัวนักเรียนเองด้วยเมื่อผ่านการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป ตลอดจนปัญหาอื่นๆ ที่อาจจะตามมา เช่น อัตราผู้ไร้บ้านที่เพิ่มขึ้น อัตราความท้าทายด้านสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้น และอัตราการจ้างงานที่ลดต่ำลง
ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองต่อข้อเสนอแนะของ OHRC ทางรัฐบาลท้องถิ่นในแคนาดาได้ประกาศการลงทุน 25 ล้านดอลลาร์เพื่อเสริมสร้างการสนับสนุนการอ่านในโรงเรียนสำหรับปีการศึกษานี้และปีถัดไปในเบื้องต้นแล้ว
Stephen Lecce รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการแคนาดากล่าวว่ารัฐบาลท้องถิ่นต่างกำลังปรับปรุงหลักสูตรภาษาโดยเน้นที่การออกเสียง เพื่อให้เยาวชนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการอ่าน อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในภายภาคหน้าต่อไป
ที่มา : New report recommends changes to literacy education in Ontario