องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกร่วมมือกับบริษัทผลิตภาพยนตร์สัญชาติเบลเยี่ยม และสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งเมืองโมซุล ในอิหร่าน จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมการทำภาพยนตร์สั้นให้แก่นักศึกษาในสาขาภาพยนตร์จำนวน 19 คนของทางสถาบัน ช่วยให้วัยรุ่นอิหร่านที่ยังคงต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ยังมีความขัดแย้งรุนแรงอยู่
ทั้งนี้ ภาพของกลุ่มนักศึกษาที่กำลังง่วนอยู่กับการถ่ายทำภาพของนักแสดงที่กำลังปีนป่ายกองซากปรักหักพังของอาคารในโมซูล เมืองเก่าแก่ในอิหร่านถือเป็นภาพแปลกตาที่ไม่อาจพบได้เลยในพื้นที่เมืองทางตอนเหนือของประเทศแห่งนี้ ซึ่งยังต้อบร่วมแบบรับบาดแผลรอยจากการปกครองที่เข้มงวดรุนแรงของกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลามซึ่งเข้ายึดครองเมืองโมซูลในปี 2014 และกำหนดการตีความกฎหมายอิสลามแบบอนุรักษ์นิยมเป็นพิเศษ
นอกจากจะช่วยให้นักศึกษาได้เพิ่มพูนแนวคิดและความรู้ทางทฤษฎีแล้ว การอบรมดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือเขียนบท กำกับและถ่ายทำภาพยนตร์สั้นของตนเอง โดยที่ทางบริษัทภาพยนตร์เบลเยี่ยมจะสนับสนุนช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ และมีผู้เชี่ยวชาญตามประกบเพื่อให้คำแนะนำ ภายในระยะเวลา 4 เดือน หรือประมาณหนึ่งภาคการศึกษา
ทางยูเนสโกและพันธมิตรคาดหวังว่า นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดทำตามความฝันของตน แม้ว่าจะต้องเผชิญกับสภาวะยากลำบาก เนื่องจากโมซูลเป็นหนึ่งในไม่กี่พื้นที่ในอิหร่านที่เพิ่งจะได้มีโอกาสฟื้นตัวจากกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม (ไอเอส) ไม่นาน
โมฮัมเหม็ด ฟาวัส (Mohammed Fawaz) หนึ่งในนักศึกษาวัย 20 ปีของทางสถาบันที่เข้าร่วมรับการฝึกอบรม กล่าวว่า สนใจวิชาภาพยนตร์เพราะต้องการถ่ายทอดเรื่องราวของบ้านเกิด สถานที่ที่ตนเองเกิดและเติบโตมาให้นานาประเทศทั่วโลกได้มองเห็นและรับรู้ ก่อนย้ำว่า การเรียนที่สถาบันวิจิตรศิลป์หลังหมดยุคของไอเอส ก็เปรียบได้กับ “การกระโดดผ่านจากยุคหินสู่ยุคทันสมัย” ในปัจจุบัน
ฟาวัสกล่าวว่า ก่อนที่ได้มาเข้าเรียนที่สถาบัน เจ้าตัวมีความชื่มชอบในภาพยนต์อย่างมาก แม้ว่าที่้บ้านจะไม่มีโทรทัศน์สักเครื่องสำหรับดูภาพยนต์ อีกทั้ง ความเข้มงวดรุนแรของกลุ่มติดอาวุสไอเอส ทำให้ฟาวัสไม่สามารถไปโรงเรียนได้นานหลายปี และต้องเรียนภาษาอังกฤษโดยอาศัยการอ่านหนังสือและความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน
ด้าน เดเนียล เดอมูสเทียร์ (Daniel Demoustier) ช่างกล้องและผู้กำกับชาวเบลเยี่ยม กล่าวในฐานะครูผู้สอนว่า หลังจากเรียนรู้ทฤษฎีอย่างเข้มข้นภายในระยะเวลา 1 เดือนแรกของหลักสูตรแล้ว จากนั้น นักเรียนจะได้มีโอกาสทำงานในบทบาทหน้าที่ต่างๆ โดยเริ่มจากการจับคู่กันทำภาพยนตร์ ขณะที่เพื่อนร่วมชั้นจะผลัดกันเข้ามาช่วย
ในส่วนของอุปกรณ์การถ่ายทำทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกล้อง เลนส์ หรือเครื่องเสียง ที่นำมาเข้ามาจากต่างประเทศจะเป็นอุปกรณ์ที่ส่งมอบให้กับทางสถาบันอย่างถาวร โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนนักศึกษา สามารถหยิบจับขึ้นมาใช้งานได้ทุกเมื่อเพื่อเริ่มสร้างภาพยนตร์ด้วยตนเอง ภายหลังจากเรียนรู้ตามหลักสูตรเสร็จสิ้นแล้ว
เดอมูสเทียร์กล่าวว่า แม้นักเรียนจะสามารถทำได้ 3 ใน 4 ส่วนของที่เรียนมาก็ถือได้ว่านักเรียนคนนั้นประสบความเร็จดีแล้ว
ทั้งนี้ในส่วนของเนื้อหาของภาพยนตร์สั้นทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่นักเรียนได้ประสบพบเจอในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่นผลงานของ ทามารา จามัล (Tamara Jamal) นักเรียนหญิงวัย 19 ปี ที่บอกเล่าเรื่องราวของเด็กหญิงคนหนึ่งที่พ่อใช้ความรุนแรงกับแม่ ในขณะที่คนอื่นได้แต่ยืนมองนิ่งเฉยเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ ขณะที่เด็กหญิงเองก็ถูกบังคับให้แต่งงานตั้งแต่ยังเด็ก
ซูซานา อับดุลมาจิด (Susana AbdulMajid) นักแสดงและครูชาวอิรัก-เยอรมัน ซึ่งครอบครัวมีพื้นเพมาจากเมืองโมซูลกล่าวว่านักเรียนส่วนใหญ่ชอบพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวที่เด็ก ๆ มีบทบาทหลักในภาพยนตร์ เป็นการสะท้อนให้เห็นได้ว่า คนหนุ่มสาวเหล่านี้มีวัยเด็กที่ยากลำบากและค่อยข้างโหดร้าย กระนั้น วัยเด็กนั้นก็ยังมองเห็นความฝันอันบริสุทธิ์และเป็นช่วงเวลาแห่งความไร้เดียงสาที่สวยงาม ซึ่งเหมาะกับการหยิบนำมาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์สั้นให้ทั่วโลกได้รับชมกัน
ด้าน ไมโล ราอู (Milo Rau) ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของบริษัทโรงละคร NTGent ของเบลเยียม ซึ่งอยู่เบื้องหลังการริเริ่มนี้ เปิดเผยว่า ผลงานภาพยนตร์สั้นทั้งหมด 9 เรื่องความยาวเรื่องละ 5 นาทีนี้จะได้รับการฉายในเมืองโมซูลตลอดเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนส่งไปจัดฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์ในยุโรปต่อไป
นอกจากนี้ ราอูยังได้กล่าวถึงเป้าหมายต่อไปของโครงการดังกล่าวก็คือการหาทุนสนับสนุนเพื่อทำให้สาขาวิชาภาพยนตร์ในเมืองแห่งนี้เดินหน้าต่อไปได้ และหากเป็นไปได้ ก็น่าจะมีการจัดเทศกาลภาพยนตร์แห่งเมืองโมซูลในท้ายที่สุด
ที่มา : Belgian theatre group joins forces with UNESCO to help Iraqi youngsters make a movie in Mosul