ปลดล็อคความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการศึกษาผ่านการพัฒนา
“ทักษะพื้นฐานของการทำงานในโลกยุคใหม่”
วันพุธที่ 18 มกราคม 2566
ความเป็นมา
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรีโดยมีภารกิจตาม พรบ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทาง
การศึกษา และเสริมสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพครู เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือ เด็ก เยาวชน และปราชาชน ที่ขาดแคลนทั้งทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ให้ได้รับการพัฒนาทักษะและศักยภาพ มีการดำเนินงานที่ใช้ข้อมูลจากงานวิจัยและความร่วมมือในการชี้เป้าและความต้องการ และนำผลจากการวิเคราะห์วิจัยและการพัฒนาต้นแบบไปสู่ระดับนโยบายเพื่อขยายผลในระดับประเทศ
กสศ. ร่วมกับ ธนาคารโลก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้พัฒนาความร่วมมือด้านวิชาการและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาทุนมนุษย์ไทยให้พร้อมแข่งขันในศตวรรษที่ 21 ผ่าน “การวิจัยสำรวจทักษะและความพร้อมกลุ่มประชากรวัยแรงงานในประเทศไทย (Adult Skills Assessment in Thailand)” เพื่อร่วมกันหาแนวทางการยกระดับทักษะแรงงาน และการกำหนดนโยบายด้านการศึกษา ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในโลกยุคดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถในด้านการแข่งขัน ให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง และเพื่อให้แรงงานในประเทศไทยได้รับการพัฒนากลายเป็นแรงงานที่มีทักษะสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชากรไทยจะมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดปัญหาความยากจนข้ามรุ่น ช่วยให้ไทยเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น และยังสามารถลดความเหลื่อมล้ำในมิติต่าง ๆ
ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานข้างต้น กสศ. ธนาคารโลก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้ร่วมกันจัด เวทีนโยบายการพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานสู่ความพร้อมรับมือตลาดแรงงานยุคใหม่ หัวข้อ ปลดล็อคความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการศึกษาผ่านการพัฒนา “ทักษะพื้นฐานของการทำงานในโลกยุคใหม่”
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างความเข้าใจในยุทธศาสตร์และความท้าท้ายใหม่กับการพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน
- ให้ความสำคัญและบทบาทของทักษะและการเรียนรู้ที่มีความจำเป็นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
- เพื่อให้ข้อเสนอแนะและความร่วมมือเชิงนโยบายในการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ของเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน
รายละเอียดเวทีนโยบาย
- นำเสนอ “ความสำคัญของทักษะและการเรียนรู้ที่จะช่วยยกระดับการศึกษาและรายได้”
- เสวนาโดยผู้ขับเคลื่อนทางนโยบาย นักวิชาการด้านการศึกษาและแรงงาน
- การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็น “การพัฒนาทักษะและความพร้อมให้แก่เยาวชนและประชากรวัยแรงงานไทย”
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม
หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และสื่อสารมวลชน จำนวนประมาณ 300-500 คน
เวลาและสถานที่
วันพุธที่ 18 มกราคม 2556 เวลา 09.30 -12.00 น.
สถานที่ : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา อาคารเอส. พี. (อาคารเอ) ชั้น 13 เลขที่ 388 ถนนพหลโยธิน
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 (เฉพาะวิทยากรและสื่อมวลชน)
ออนไลน์ : ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเข้าร่วมผ่านระบบ Zoom คลิก หรือรับฟังการถ่ายทอดสดทาง Facebook Live: กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
เครือข่ายจัดเวทีนโยบาย
- กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
- ธนาคารโลก
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สำนักงานสถิติแห่งชาติ
กำหนดการ
เวทีนโยบายการพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานสู่ความพร้อมรับมือตลาดแรงงานยุคใหม่
ปลดล็อคความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการศึกษาผ่านการพัฒนา “ทักษะพื้นฐานของการทำงานในโลกยุคใหม่”
วันพุธที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 09.30 – 12.00 น.
ณ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
เวลา | กิจกรรม |
09.00 – 09.30 น. | ลงทะเบียน |
09.30 – 09.40 น. | กล่าวเปิด โดย : ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) |
09.40 – 10.20 น. | นำเสนอ “ความสำคัญของทักษะและการเรียนรู้ที่จะช่วยยกระดับการศึกษาและรายได้” โดย : Mr. Koji Miyamoto, Senior Economist for Global Practice, World Bank |
10.20 – 11.20 น. | เสวนา “ทิศทางนโยบายและแนวทางการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ให้แก่เยาวชนและประชากรวัยแรงงานทั้งในและนอกระบบที่จะช่วยก้าวพ้นจากความยากจน” • เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา • นางสาวไพลิน จินดามณีพร รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน • ดร.สมชัย จิตสุชน ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบ กสศ. และ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย • Mr. Koji Miyamoto, Senior Economist for Global Practice, World Bank • ผศ. ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้นำเสวนา : สันติพงษ์ ช้างเผือก บรรณาธิการข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส |
11.20 – 11.35 น. | ถาม – ตอบ |
11.35 – 11.40 น. | กล่าวปิดการสัมมนา โดย : นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ กสศ. |
*กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
**ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเข้าร่วมผ่านระบบ Zoom หรือรับฟังการถ่ายทอดสดทาง Facebook Live: กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา