วันที่ 11 กันยายน 2566
ณ ห้องสุวรรณมาลี โรงแรมโนโวเทล ระยอง สตาร์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์
หลักการและเหตุผล
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ดำเนินงานโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาแบบย่อส่วน พัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนภายในพื้นที่ ในปี 2565 กสศ. ได้พัฒนากลไกสำหรับการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำจำนวน 12 กลไก ครอบคลุมพื้นที่ 12 จังหวัด ในทุกภาคของประเทศ เป็นพื้นที่พัฒนา และพื้นที่ใหม่
ตั้งแต่ปี 2563 กสศ. ได้ร่วมกับธนาคารโลก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในการกำหนดแผนงานส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบ มุ่งค้นหาและพัฒนาระบบการส่งเสริมและพัฒนาทักษะ เพื่อให้เยาวชนและประชากรวัยแรงงานมีโอกาสพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้น สามารถพึ่งตนเองในโลกสมัยใหม่ได้ มีทักษะที่สอดรับกับการทำงานของศตวรรษที่ 21 ผ่านโครงการวิจัยสำรวจทักษะและความพร้อมของกลุ่มเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน (Adult Skills Assessment in Thailand) จุดประสงค์โครงการฯ เพื่อพัฒนาการสำรวจและประเมินทักษะ ในการอ่าน เพื่อการทำงานและใช้ชีวิตประจำวัน ทักษะดิจิทัล รวมถึงทักษะด้านอารมณ์สังคมของเยาวชนและ ประชากรแรงงานอายุ 15-64 ปี และนำข้อมูลในการกำหนดนโยบายวางกลยุทธ์ด้านพัฒนา และยกระดับทักษะให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดแรงงานและการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านมนุษย์ของประเทศ
ทั้งนี้เพื่อยกระดับและต่อยอดการทำงานข้างต้น กสศ. ร่วมกับธนาคารโลก และภาคีเครือข่ายภาคนโยบาย ภาควิชาการ จัดทำโครงการการสำรวจทักษะและความพร้อมของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานระดับจังหวัด (Provincial Adult Skills Assessment in Thailand: PASAT) จำนวน 3 จังหวัด ในการนำร่องส่งเสริมการใช้ประโยชน์เครื่องมือสำรวจระดับสากลในการขับเคลื่อนการทำงานในระดับจังหวัด โดยดำเนินการให้มีการสังเคราะห์ข้อมูล และออกแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ และนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการศึกษาตลอดชีวิตในบริบทพื้นที่
วัตถุประสงค์
- เพื่อนำเสนอการศึกษา เครื่องมือในการสร้างคนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม นำไปสู่การสร้างเมืองให้น่าอยู่ และ เครื่องมือวิจัยสำรวจทักษะและความพร้อมของกลุ่มประชากรวัยแรงงานในระดับสากล
- เพื่อแลกเปลี่ยนโอกาสในการเสริมสร้างอบรมทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงการเสริมสร้างความเข็มแข็งการทำงานจากทุกภาคส่วน
- เพื่อนำเสนอตัวอย่างนวัตกรรมในจังหวัดระยอง พร้อมทั้งนโยบายท้องถิ่นที่มีการปรับเปลี่ยนจากตัวอย่างนวัตกรรมต้นแบบในบริบทภาคท้องถิ่นและสถานศึกษา
- เพื่อมีข้อเสนอและวางแผนการขับเคลื่อนการวิจัยสำรวจทักษะและความพร้อมของกลุ่มประชากรวัยแรงงานในระยอง
รูปแบบการประชุม
เป็นลักษณะของการนำเสนอ เสวนา และรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหลากหลายหน่วยงานภาคี
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวน 150 คน ประกอบด้วย
- คณะทำงานการศึกษาเชิงพื้นที่ เช่น ที่ปรึกษา และ นักวิชาการ
- ภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคประกอบการ ภาคประชาสังคม
วัน เวลา และ สถานที่
วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 เวลา 08.30 – 12.30 น. ณ ห้องสุวรรณมาลี โรงแรมโนโวเทล ระยอง สตาร์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์
ออนไลน์: ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถรับฟังการถ่ายทอดสดทาง Facebook Live: กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (ภาษาไทย)
กำหนดการประชุม
“เวทีเสวนาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดระยองเพื่อเตรียมคนระยองสู่สากล”
วันที่ 11 กันยายน 2566
ณ ห้องสุวรรณมาลี โรงแรมโนโวเทล ระยอง สตาร์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์
เวลา | รายละเอียดกิจกรรม |
08.30 – 09.00 น. | ลงทะเบียน |
09.00 – 09.20 น. | ประธานในพิธีเปิดการประชุม โดย นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวต้อนรับ โดย นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา |
09.20 – 09.35 น. | กล่าวนโยบายการจัดการศึกษา – การศึกษา เครื่องมือในการสร้างคนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม นำไปสู่การสร้างเมืองระยองให้น่าอยู่ โดย นายปิยะ ปิตุเตชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง |
09.35 – 10.15 น. | นำเสนอ – การวิจัยสำรวจทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์และความพร้อมของกลุ่มประชากรในระดับสากล โดย คุณโคจิ มิยาโมโตะ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ด้าน Global Practice จากธนาคารโลก หมายเหตุ: นำเสนอภาษาอังกฤษ พร้อมคำบรรยายภาษาไทยตลอดการประชุม |
10.15 – 10.30 น. | บรรยาย – การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดระยอง โดย นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง |
10.30 – 12.00 น. | เสวนา – การเตรียมทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์และความพร้อมของคนระยองในทศวรรษใหม่ โดย – รองศาสตราจารย์ ดร. จักรกฤษณ์ เสณีตันติกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง – นายปรัชญา สมะลาภา รองประธานสภาหอการค้าไทย – นายกิตติพงค์ อุตตมะเวทิน ผู้อำนวยการสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง – รองศาสตราจารย์ ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ ผู้แทนคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรม – ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุ คลากรในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC HDC) – ดร.วิโรฒน์ ชมภู คณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารวิชาการ ในคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ดำเนินรายการ โดย นายอิษฏ์ ปักกันต์ธร |
12.00 – 12.15 น. | การแสดงความคิดเห็น และประเด็นข้อซักถาม |
12.15 – 12.30 น. | สรุปและปิดการประชุม โดย นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา |
12.30 น. เป็นต้นไป | รับประทานอาหารกลางวัน |
*** กำหนดการอาจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ***