การประชุมกลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ครั้งที่ 7: กลไกการจัดทำงบประมาณและการจัดหาเงินทุนเพื่อเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษา

การประชุมกลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ครั้งที่ 7: กลไกการจัดทำงบประมาณและการจัดหาเงินทุนเพื่อเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษา

ความเป็นมา

กลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2563 โดยเป็นชุมชนของนักปฏิบัติการจากองค์กรต่าง ๆ กระทรวง และหน่วยงานรัฐ ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งพยายามผลักดันไปสู่ระบบการศึกษาที่ครอบคลุมและเสมอภาคมากขึ้น
ในขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพในทุกระดับให้กับองค์กรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่มีอยู่แล้ว กลุ่มพันธมิตรจัดการประชุมอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปีเพื่อหารือและยกระดับความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านความพยายามร่วมกัน มีทั้งหมด 14 ประเทศ [1]  และ 17 องค์กรท้องถิ่นและองค์กรระหว่างประเทศ [2]  ที่เข้าร่วมประชุมและแบ่งปันความเชี่ยวชาญเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคในระบบการศึกษา โดยอาศัยความเชี่ยวชาญหลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1) กรอบกฎหมายและการพัฒนาด้านนโยบาย 2) กลไกการจัดทำงบประมาณและการจัดหาเงินทุน 3) ระบบการจัดบริการและดำเนินการ 4)การติดตามและประเมินผล

องค์กรท้องถิ่นและองค์กรระหว่างประเทศ [2]  ที่เข้าร่วมประชุมและแบ่งปันความเชี่ยวชาญเพื่อส่งเสริมความเสมอ
ภาคในระบบการศึกษา โดยอาศัยความเชี่ยวชาญหลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1) กรอบกฎหมายและการพัฒนาด้านนโยบาย
2) กลไกการจัดทำงบประมาณและการจัดหาเงินทุน 3) ระบบการจัดบริการและดำเนินการ 4)
การติดตามและประเมินผล

การประชุมครั้งที่ 7 เน้นในเรื่อง ‘กลไกการจัดทำงบประมาณและการจัดหาเงินทุน’ เพื่อเพิ่มโอกาสสำหรับความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับชาติถึงระดับท้องถิ่น การประชุมแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนสำหรับบุคคลทั่วไปและส่วนสำหรับสมาชิก EEA โดยเฉพาะ การประชุมครั้งที่ 7 นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะจุดประกายโอกาสในการทำงานร่วมกันและบ่งชี้ถึงผู้ที่สามารถเป็นสื่อกลางและรวมตัวกันทำหน้าที่ในการปูพื้นฐานสำหรับการพัฒนาก้าวต่อไปของ EEA และวางแผนกิจกรรมหลักสำหรับปี พ.ศ. 2566

เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลความเสมอภาคทางการศึกษา (EquityEdHub หรือ EEH) เปิดตัวเมื่อปลายปี พ.ศ. 2565 เป็นศูนย์กลางในการแบ่งปันความรู้เพื่อให้ผู้เรียนจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรในการยกระดับความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านความพยายามร่วมกัน และมอบการสนับสนุนอย่างมีแก่นสารในด้านเทคนิคให้กับผู้ที่มีความต้องการ

วัตถุประสงค์

ส่วนสำหรับบุคคลทั่วไป :

1.นำเสนอ ‘กลไกการจัดทำงบประมาณและการจัดหาเงินทุน’ เพื่อเพิ่มโอกาสสำหรับความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับชาติถึงระดับท้องถิ่น
2.นำเสนองานวิจัยด้านการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับนักเรียนพิการจากประเทศฟิลิปปินส์
3.แบ่งปันความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อตอบโจทย์ความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับพื้นที่จนถึงระดับชาติ

ส่วนสำหรับสมาชิก EEA โดยเฉพาะ

4.แนะนำสมาชิกใหม่ของ EEA
5.รายงานและเสวนาโดยองค์กรหลัก เกี่ยวกับความคืบหน้าของกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ระบุไว้
6.ระบุโอกาสในการทำงานร่วมกัน หารือเกี่ยวกับแนวคิดเบื้องต้น และตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมหลักที่จะดำเนินจากไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2566

ผู้ที่คาดว่าจะมาเข้าร่วม

  • ผู้บริหารการศึกษาในระดับท้องถิ่น ผู้อำนวยการเขตการศึกษา ครูใหญ่ ครู และพันธมิตร เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา
  • ผู้ที่มีศักยภาพเป็นสมาชิก EEA รวมถึงหน่วยงานรัฐบาล ผู้กำหนดนโยบาย องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ องค์กรและประเทศที่มีแนวคิดเดียวกัน
  • สมาชิก EEA รวมถึงประเทศสมาชิก ตัวแทนประเทศและตัวแทนองค์กร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค และหน่วยงานระหว่างประเทศที่ลงมือปฏิบัติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

เวลาและสถานที่

เพื่อเข้าร่วมในส่วนสำหรับบุคคลทั่วไป (13.30–14.45 น. ตามเวลาในไทย) กรุณาลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านลิงก์นี้ คลิก
หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว คุณจะได้รับอีเมลยืนยัน ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าร่วมประชุม พร้อมกับลิงก์การประชุมอย่างเป็นทางการ

หมายเหตุ : การประชุมผ่าน Zoom รองรับผู้เข้าร่วมได้ 500 ท่านแรกเท่านั้น การประชุมส่วนนี้จะถ่ายทอดสดเป็นภาษาอังกฤษผ่านหน้าเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูลความเสมอภาคทางการศึกษา (EEH) และภาษาไทยผ่านหน้าเฟซบุ๊ก กสศ. การประชุมส่วนนี้จะดำเนินแบบสองภาษา โดยจะมีบริการแปลภาษาไทยให้ตลอด