นวัตกรรมต้นแบบ
คิดค้นต้นแบบนวัตกรรม
ในการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา
งานของเราไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่คือการคิดค้นต้นแบบของนวัตกรรมและเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร ทางการศึกษาใหม่ให้หน่วยงานต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์ ผ่านการใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศและฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการทำงาน ร่วมกับระบบการค้นหาและคัดกรองข้อมูล รวมถึงระบบการจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข ระบบติดตาม การรับเงินทุน และระบบการส่งต่อฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ของเด็กและเยาวชนไทยอย่างเป็นองค์รวม
เพราะการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน
การศึกษายืดหยุ่น (Flexible Learning)
คือแนวทางการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีสิทธิ์เลือกสถานที่ เวลา และวิธีการเรียนรู้ตามความสะดวก โดยวัดผลอย่างเปิดกว้างและยืดหยุ่น โดยแนวทางนี้สอดคล้องกับแนวคิดขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่มองว่าการศึกษายืดหยุ่น เป็นวิธีช่วยให้ผู้เรียนสามารถกำหนดการเรียนรู้ของตนเองได้
iSEE ฐานข้อมูลเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ฐานข้อมูลการศึกษาในประเทศไทย เป็นข้อมูลเด็กและเยาวชน ข้อมูลของ บุคคลากร และข้อมูลทรัพยากรโรงเรียน นอกจากนั้นยังมีข้อมูลนักเรียนยากจน / จนพิเศษ และข้อมูลเด็กนอกระบบการศึกษา ตั้งแต่จํานวนสถิติ ข้อมูลครัว เรือนและเศรษฐกิจ รวมไปถึงสภาพปัญหาและความต้องการ
โรงเรียน TSQP
โครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Teacher School Quality Program : TSQP) คาดหวังให้โครงการโรงเรียน พัฒนาตนเองทําให้การศึกษาระดับประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นเรื่อง คุณภาพการเรียนการสอน และการดึงไม่ให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา
จังหวัดเสมอภาคทางการศึกษา
กสศ. พร้อมด้วย ๒๐ จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลําปาง น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก ขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์ อํานาจเจริญ อุบลราชธานี นครราชสีมา กาญจนบุรี นครนายก ระยอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา และสงขลา ร่วมมือแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา
ห้องเรียนความคิดสร้างสรรค์
การสร้างความเสมอภาคในห้องเรียน คุณครูจะต้องสอดส่องเอาใจใส่และรู้ ว่าการเรียนการสอนแบบใดที่เหมาะกับนักเรียนคนไหน เพราะนักเรียนแต่ ละคนไม่สามารถใช้วิธีสอนแบบเดียวกันได้ทั้งหมด ไปจนถึงการปรับเปลี่ยน การสอนแบบเน้น “ท่องจํา” สู่ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดเชิงวิเคราะห์