จังหวัดต้นแบบสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
กสศ. พร้อมด้วย ๒๐ จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่
เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน แพร่ สุโขทัย
พิษณุโลก ขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์ อำนาจเจริญ
อุบลราชธานี นครราชสีมา กาญจนบุรี นครนายก ระยอง
สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา และสงขลา
ร่วมมือแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
โดยให้แต่ละจังหวัดเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงาน
ใช้บริบทของแต่ละพื้นที่เป็นตัวตั้ง มุ่งไปที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย
เด็กปฐมวัย
ราว 250,000 คน หรือร้อยละ 10 เฉลี่ยประมาณจังหวัดละ 3,200 คน
เด็กนอกระบบการศึกษา
มีจำนวน 592,396 คน
การทำงานเน้น 3 ด้านสำคัญ
1. สร้างกลไกบูรณาการระหว่างหน่วยงานหลักและภาคประชาสังคมในพื้นที่
2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผ่านการสำรวจค้นหากลุ่มเป้าหมายจริง ทำให้การช่วยเหลือดูแลกลุ่มเป้าหมายมีความน่าเชื่อถือและแม่นยำ
3.การสร้างตัวแบบการช่วยเหลือเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาตามบริบทของพื้นที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กปฐมวัยและเด็กนอกระบบ
ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อเดินหน้าโครงการอย่างสมบูรณ์
อาทิ จังหวัดต้นแบบการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน จำนวน ๒๐ จังหวัด
– มุ่งจัดทำฐานข้อมูลและสร้างกลไกช่วยเหลือ เด็กปฐมวัย และเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา
– มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการยกระดับคุณภาพการศึกษาจำนวน ๓๐๐ แห่ง
– มีเด็กนอกระบบและเด็กปฐมวัยที่ได้รับการช่วยเหลือจำนวน ๖๕,๐๐๐ คน