โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข
(ทุนเสมอภาค)
Conditional Cash Transfer
“จัดสรรเงินอุดหนุนอย่างไร
ไม่ให้มีเด็กคนไหน ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง แม้แต่คนเดียว”
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 ระบุให้รัฐต้องดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย แต่ข้อเท็จจริงมีเด็กกลุ่มหนึ่งที่แม้จะได้เรียนฟรี แต่ความยากจนในระดับที่รุนแรงกว่า ยังเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถมาเรียนได้ เช่น ไม่มีค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง การช่วยเหลือลักษณะนี้จึงยังไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมลํ้าทางการศึกษาได้
จึงนํามาสู่โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer: CCT) หรือทุนเสมอภาค ที่เริ่มต้นในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตั้งแต่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
โครงการนี้มีรากฐานจากงานวิจัย 3 เรื่องสําคัญ ได้แก่ บัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ (National Education Account of Thailand : NEA) การวิจัยระบบ เกณฑ์การคัดกรองรายได้ทางอ้อม (Proxy Means Tests) และระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการ ศึกษา ที่กสศ. ร่วมมือกับ สพฐ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร นํามาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย “การปฏิรูปการจัดสรรงบประมาณเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” (Equity-based Budgeting) เพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพการจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามอุปสงค์ (Demand-side Financing) ตรงตามความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล ในบริบทพื้นที่ซึ่งแตกต่างกันเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและบรรเทาอุปสรรคการมาเรียน นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการศึกษาเป็นการช่วยลดความเหลื่อมลํ้าที่ต้นทาง ปกป้องเด็กไทย ไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา
กลุ่มเป้าหมาย
เป็นนักเรียนจากครัวเรือนยากจนและด้อยโอกาสระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในหน่วยงานจัดการศึกษา 6 สังกัด ได้แก่
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.)
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.)
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- สนับสนุนสถานศึกษาเพื่อการคัดกรอง ตรวจสอบ และการรับรอง ข้อมูลผลการคัดกรองนักเรียนทุนเสมอภาคด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อม (Proxy Means Test : PMT)
- จัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข (ConditionalCash Transfer :CCT) เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครอบครัว บรรเทา อุปสรรคการมาเรียน
- สนับสนุนการติดตามผลการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขนักเรียนทุนเสมอภาค ครัวเรือน และสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อติดตามผลลัพธ์ของเงินทุนเสมอภาค และเป็นมาตรการป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษา
- สนับสนุนการวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและส่งเสริมมาตรการการช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการมาเรียนเพื่อให้นักเรียนทุนเสมอภาคเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างมีคุณภาพ
- สนับสนุนให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือการดำเนินงานระหว่างหน่วยจัดการศึกษาต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
หลักเกณฑ์การคัดกรองนักเรียนทุนเสมอภาค
การคัดกรองนักเรียนทุนเสมอภาค มี 2 รูปแบบ คือ
รูปแบบที่ 1 คัดกรองแบบครัวเรือนทั่วไป
กสศ. ประเมินจากข้อมูล 2 ประเภท ดังนี้
รูปแบบที่ 2 คัดกรองแบบครัวเรือนสถาบัน
โดยรายละเอียดข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณา ประกอบด้วย
ข้อมูลทั้ง 2 ประเภท
จะถูกประมวลผลด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อม (PMT)
โดยค่าน้ำหนักคะแนนความยากจนของครัวเรือน จะมีค่าแตกต่างกัน
ค่าน้ำหนักที่ได้จะถูกนำมาแปลงเป็นระดับค่าคะแนนความยากจน
นักเรียนทุนเสมอภาค
สำรวจอย่างแม่นยำ
ยืนยันตัวตนอย่างชัดเจน
กสศ. ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันด้วยพิกัดบ้าน ภาพถ่าย สภาพบ้านพร้อมรูปนักเรียนและสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งพิกัดและเวลาในการลงนามรับรองของคณะกรรมการเพื่อให้มั่นใจว่าเด็กเหล่านั้นมีตัวตนจริงและอาศัยอยู่ในบ้านที่มีสภาพดังกล่าวจริง ซึ่งถือเป็นหลักฐานทางกายภาพที่สำคัญในการประกอบการพิจารณา (Hard Evidence)
2 เงื่อนไขสำคัญที่พิสูจน์ว่า
“เงินอุดหนุนนักเรียนทุนเสมอภาคมีประสิทธิภาพจริง”
อัตราเงินอุดหนุน
จากจุดเริ่มต้นทุนเสมอภาค เติบโต ขยายผล จากพลังของครูกว่า 300,000 คน ในการเยี่ยมบ้านคัดกรอง เกิดเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับอัตราเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขหรือทุนเสมอภาค จากปีการศึกษา 2561 อัตรา 1,600 บาท/คน/ปีการศึกษา ในปีการศึกษา 2563 ขยับเป็น 3,000 บาท/คน/ปีการศึกษา และในปีการศึกษา 2567-2569 เพิ่มเป็น 4,200 บาท/คน/ปีการศึกษา (โดยเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได)